ข้อมูลโรงเรียน

ประวัติโรงเรียน

          โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก ตั้งอยู่ที่ 21 หมู่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530 เป็น สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เนื้อที่ 30 ไร่ เขตพื้นที่บริการ 6 แขวง ได้แก่ แขวงหนองจอก แขวงกระทุ่มราย(ยกเว้นหมู่ 12,13,14 และ 17) แขวงโคกแฝด ยกเว้น หมู่ 8 แขวงคู้ฝั่งเหนือ แขวงคลองสิบ แขวงคลองสิบสอง
          โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกเป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการตั้งขึ้น ได้ด้วยความคิดริเริ่มของท่านอธิบดีกรมสามัญศึกษาในสมัยนั้น(หลวงสวัสดิ์สารศาสน์พุทธิ)คณะกรรมการอำเภอหนองจอกและพระปลัดบุญมี(พระครูวาปีคณารักษ์) เจ้าอาวาสวัดหนองจอกได้มอบที่ดินจำนวน 30 ไร่ ให้สร้างโรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2497
          ปี พ.ศ.2497 เป็นปีแรกของการเปิดรับนักเรียนชาย หญิง มีนักเรียน 45 คน ครู 3 คน โดยมีนายสุดจิต อำพันแสง เป็นครูใหญ่คนแรก  อาศัยโรงเรียนนักธรรมของวัดหนองจอกเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว อาคารถาวรหลังแรกเป็นอาคารไม้สองชั้น ขนาด 8 ห้องเรียน สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2497  ด้วยเงินงบประมาณ 350,000 บาท อาคารเรียนหลังนี้หมดสภาพได้รื้อถอนไปเมื่อปีการศึกษา 2521 มีอายุการใช้งาน 25 ปี ในปี พ.ศ. 2537 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนวัดหนองจอกเป็นชื่อโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สังกัดกองและกรมเดิม

         

         

ตราประจำโรงเรียน เจดีย์ประกอบไปด้วยรัศมี ๒๑ รัศมี ซึ่งหมายถึงเลขที่ตั้งของโรงเรียน ฐาน ๔ ขีด หมายถึง ๔ คณะสี

ความหมาย
เจดีย์ หมายถึง วัด
รัศมี หมายถึง ความรุ่งโรจน์
วัดเป็นผู้ให้ความรุ่งโรจทางการศึกษาแก่ชาวหนองจอก

สีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
สีเหลือง หมายถึง ความมีคุณธรรมประจำใจ ความร่มเย็นเป็นสุข
เขียว – เหลือง หมายถึง โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกเป็นสถานที่อบรมบ่มนิสัยให้นักเรียนทุกคนมีคุณธรรมและเป็นผู้ที่ประสบความสุข ความเจริญก้าวหน้า ความสมบูรณ์ในการดำรงชีวิต

ปรัชญาของโรงเรียน สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
ความหมาย ความสามัคคีของหมู่คณะทำให้เกิดสุข

คำขวัญ เกียรติ วินัย กล้าหาญ อดทน

วิสัยทัศน์
   โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก เป็นสถานศึกษาชั้นนำแห่งการสร้างสรรค์ ส่งเสริมผู้เรียนให้มีสมรรถนะ พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ เป็นแหล่งวิทยบริการในชุมชน ดำรงตนภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของอนาคต

อัตลักษณ์
ลูก น.จ. เป็นผู้มีวินัย

เอกลักษณ์
สิ่งแวดล้อมดี กิจกรรมเด่น

ค่านิยมองค์กร
ความสามัคคีของหมู่คณะทำให้เกิดสุข

พันธกิจของโรงเรียน
       1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานสากล มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
      2. ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
      3. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล
      4. มีส่วนร่วมในการพัฒนาการบริหารการจัดการศึกษา และพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
      5. ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สร้างภาคีเครือข่าย การมีส่วนร่วมในการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ

เป้าประสงค์ของโรงเรียน
      1. ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและตามมาตรฐานสากล มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      2. ครู บุคลากรทางการศึกษาได้รับการส่งเสริม พัฒนาให้มีความรู้ความสามารถมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ จัดกระบวนการเรียนการสอน การวัดประเมินผลที่หลากหลายอย่างมีคุณภาพ เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มตามศักยภาพ
      3. โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา สื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลและความแตกต่างของผู้เรียน ชุมชน และสังคม ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาชาติและมาตรฐานสากล
      4. โรงเรียนมีการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
      5. โรงเรียนมีอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
      6. โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชนและภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนการจัดการศึกษา

จุดเน้นของโรงเรียน
      1. มีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง ละพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
      2. ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      3. พัฒนาลูก นจ. ให้เป็นผู้มีวินัย มีความรู้และมีคุณธรรม จริยธรรม ตามแนวปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2
      4. เพิ่มศักยภาพนักเรียนในด้านภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กีฬาและศิลปะเพื่อพัฒนา
สู่ความเป็นเลิศในระดับประเทศและสากล
      5. นักเรียนร้อยละ 75 มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเป็นทำเป็น สามารถใช้ความคิดระดับสูง มีเหตุผลและวางแผนจัดการสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได
      6. นักเรียนทุกคนมีทักษะการอ่าน การเขียนเชิงวิเคราะห์และใฝ่รู้ใฝ่เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
      7. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 4
      8. ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนจัดกิจกรรมมหกรรมกีฬา ดนตรี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทยของโรงเรียน
      9. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความเป็นประชาธิปไตย ศรัทธาและยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณธรรม จริยธรรม และมีสุขภาพจิตดี
      10. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 จัดทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมหรือได้รับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ยุทธศาสตร์ของโรงเรียน
      1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพตามตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานสากล มีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      2. ส่งเสริมและพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
      3. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามมาตรฐานสากล
      4. พัฒนาการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล
      5. พัฒนาอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และเป็นแหล่งวิทยบริการในชุมชน
      6. สร้างแหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
      7. สร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และภาคเครือข่ายให้เห็นความสำคัญในการสนับสนุนการจัดการศึกษา

ชื่อ-สกุล

ปีที่ดำรงตำแหน่ง

1. น.อ.(พิเศษ)สุดจิต   อำพันแสง

9 เมษายน 2497 – 16 พฤศจิกายน 2497

2. นายสังข์ ถ้อยคำดี

16 พฤศจิกายน 2497 – 1 มิถุนายน 2500

3. นายแสวง นิโครชานนท์

5 กรกฎาคม 2500 – 30 กันยายน 2508

4. นายคำนวณ บุญเพ็ชรแก้ว

1 ตุลาคม 2508 – 1 ธันวาคม 2514

5. นายสมชาติ รัตนถาวร

1 ธันวาคม 2514 – 13 มีนาคม 2517

6. นายประทีป สุขวารี

1 เมษายน 2517 – 23 มีนาคม 2521

7. นางสำอาง ภมรพล

23 มีนาคม 2521 – 2 มิถุนายน 2523

8. นายนิยม บูรณะบุตร

8 กันยายน 2523 – 3 พฤษภาคม 2526

9. นายสุรินทร์ สรรพกิจ

3 พฤษภาคม 2526 – 2 พฤศจิกายน 2527

10. นายเลิศ สดแสงจันทร์

27 พฤศจิกายน 2527 – 23 พฤศจิกายน 2530

11. นายพุทธิสิน สมุทรแสง

15 ธันวาคม 2530 – 21 มกราคม 2534

12. นายวิรัตน์ ศิริบูรณ์

4 กุมภาพันธ์ 2534 – 29 ตุลาคม 2536

13 นายชูศักดิ์ ต.ศิริวัฒนา

1 ตุลาคม 2536 – 30 กันยายน 2539

14. นายเดชา ธรรมศิริ

6 พฤศจิกายน 2539 – 17 พฤษภาคม 2544

15. นายมงคล อนุรักษ์

17 พฤษภาคม 2544 – 30 มิถุนายน 2545

16. นางอัปษร ปานประเสรฐ(ภาธรธุวานนท์)

30 ธันวาคม 2545 – 30 มิถุนายน 2548

17. นายสุพล ทองดี

11 กรกฎาคม 2548 – 30 พฤศจิกายน 2549

18. นายจุลจักร โนพันธุ์

1 ธันวาคม 2549 – 4 กรกฎาคม 2552

19. นายประพนธ์   หลีสิน

21 ธันวาคม 2552 – 30 พฤศจิกายน 2554

20. นายสุรพล พาลี

30 พศจิกายน 2554 – 15 พฤศจิกายน 2556

21. นายธรรมรงค์ เสนจันทร์

15 พฤศจิกายน 2556 – 15 ธันวาคม 2558

22. นายประภาส พริพล

18 ธันวาคม 2558 – 20 พฤศจิกายน 2562

23. นายสมศักดิ์ แสวงการ

20 พฤศจิกายน 2562 – 1 ตุลาคม 2566

24. นายประจวบ อินทแย้ม

1 ตุลาคม 2566 – ปัจจุบัน

ระดับ

จำนวนห้อง

ชาย

หญิง

รวม

มัธยมศึกษาปีที่ 1 12 258 246 504
มัธยมศึกษาปีที่ 2 12 222 243 465
มัธยมศึกษาปีที่ 3 12 195 234 429
มัธยมศึกษาตอนต้น 26 675 723 1,398
มัธยมศึกษาปีที่ 4 12 210 272 482
มัธยมศึกษาปีที่ 5 11 201 268 469
มัธยมศึกษาปีที่ 6 11 160 245 405
มัธยมศึกษาตอนปลาย 34 571 785 1,356
รวมทั้งสิ้น 70 1246 1,508 2,754